top of page

รู้จัก เทศกาลกินเจภูเก็ต

รู้จัก “ถือศีลกินผัก” เทศกาลกินเจภูเก็ต สืบทอดมานานเกือบ 200 ปี

เปิดที่มา “ประเพณีถือศีลกินผัก” วัฒนธรรมการกินเจจากชาวจีนโพ้นทะเลที่ผสมผสานกับวัฒธรรมท้องถิ่น จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ตที่สืบทอดมานานเกือบ 200 ปี

เข้าสู่เดือนตุลาคม หลายร้านอาหารเริ่มประดับประดาธงสีเหลืองกันให้เห็นเต็มไปหมด เป็นสัญญาณว่า “เทศกาลกินเจ” ได้เวียนมาถึงอีกครั้งแล้ว

เมื่อพูดถึงเทศกาลงานบุญใหญ่นี้ นอกจากจะนึกถึงกิจกรรมภายในย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร อีกจังหวัดหนึ่งที่จัดยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน และเป็นถึงกิจกรรมเอกลักษณ์ประจำจังหวัดที่นักท่องเที่ยวต่างตั้งตารอคอยที่จะไปชมกันให้ได้สักครั้ง คือ “จังหวัดภูเก็ต”

phuket-car-rent3.jpg

รู้จักกับประเพณีกินเจที่เรียกว่า “ประเพณีถือศีลกินผัก” ที่ได้รับเอาวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาผสมผสานให้เข้ากับท้องถิ่น จนกลายเป็นประเพณีเอกลักษณ์ประจำจังหวัดภูเก็ตกัน

jEjR2Lai1jdmlQHEa0xe.webp

วัฒนธรรมจากชาวจีนโพ้นทะเล

การกินเจ เดิมเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวจีนเฉพาะถิ่น ในแทบที่อยู่อาศัยของชาวจีนฮกเกี้ยน และแต้จิ๋ว แต่เขาไม่ได้เรียกว่า “เทศกาลกินเจ” แต่จะเรียกว่า “เทศกาลเฉลิมฉลองของพระราชาธิราชทั้ง 9” ซึ่งเป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋า

ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามา จึงปรากฏตำนานความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติที่ผูกโยงกับพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และพระโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ เรียกว่า “กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว” และสาธุชนในพระพุทธศาสนาจะถือศีล กินเจกัน เพื่อสักการบูชาทั้ง 9 พระองค์นี้ ได้แก่

  • พระอาทิตย์ ภาษาจีนเรียกว่า ไท้เอี๊ยงแชแช แปลว่า ดวงดาว

  • พระจันทร์ คือ ไท้อิมแช

  • ดาวพระอังคาร หรือ ฮวยแช

  • ดาวพระพุธ หรือ จุ๊ยแช

  • ดาวพระพฤหัสบดี หรือ บั๊กแช

  • ดาวพระศุกร์ หรือ กิมแช

  • ดาวพระเสาร์ หรือ โท้วแช

  • ดาวพระราหู หรือ ล่อเกาแช

  • ดาวพระเกตุ หรือ โกยโต้วแช

ที่มาเทศกาลถือศีลกินผักภูเก็ต

dFQROr7oWzulq5FZUIK6x3ady4fB3HfRyR9PE0sBkjN3h1mtrBzUdTMFl7iugN8Dyw2.webp

ชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเข้ามาปักหลักถิ่นฐานกันที่ภูเก็ต เทศกาลบุญนี้จึงเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ 200 ปีก่อนที่มีชาวจีนโล้สำเภาเข้ามา ในปี พ.ศ.2368

โดยถือกำเนิดขึ้นที่บริเวณพื้นที่ชุมชนกะทู้ (ในทู) เพราะเป็นยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมแร่ดีบุก จึงทำให้มีผู้คนหลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศเพื่อทำมาหากิน

ด้วยภูมิประเทศของย่านกะทู้เป็นป่าทึบ ชุกชุมไปด้วยยุงและไข้ป่ามาลาเรีย ทำให้ในตอนนั้นผู้คนในชุมชนต่างพากันล้มป่วย รวมถึงคณะงิ้วปั่วฮี่ที่มาจากมณฑลฮกเกี้ยนในเมืองจีนเพื่อทำการแสดงสันทนาการให้กับแรงงานเหมืองด้วย

แต่คณะงิ้วลองมาคิดทบทวนดูว่าทำไมผู้คนต่างพากันล้มป่วย จึงรู้ว่าคณะตัวเองไม่ได้ประกอบ “พิธีเจี๊ยะฉ่าย” หรือแปลตรงตัวว่า “พิธีกินผัก” อย่างที่เคยทำมาเป็นประจำ จึงได้เริ่มประกอบพิธีกินผักหลังจากนั้น โดยทำตามเหมือนที่เคยได้ปฏิบัติกันมาเมื่อครั้งที่ยังอยู่ที่จีน คือจะทำการบวงสรวงเทพเจ้าหยกอ่องส่องเต่ (เง็กเซียนฮ่องเต้) กิ๊วอ่องต่ายเต่ (ราชาธิราชทั้ง 9 องค์) รวมถึงเหล่าเอี๋ย (เทพแห่งคณะงิ้ว) เพื่อขอขมา ชำระร่างกาย และสะเดาะเคราะห์เพื่อให้พ้นโรคภัย

ที่น่าทึ่งคือหลังจากทำพิธีนั้นไม่นานโรคภัยไข้เจ็บและโรคระบาดต่างๆ ได้หายไปจนหมดสิ้น ทำให้ผู้คนในจังหวัดภูเก็ตเกิดแรงศรัทธาและเลื่อมใสในตัวองค์เทพ จึงสืบทอดประเพณีที่งดงามต่าง ๆ ไว้จนกลายมาเป็นเทศกาลกินผักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดข้างเคียง อีกทั้งเป็นที่มาของชื่อเรียกประเพณีประจำจังหวัดภูเก็ตที่ว่า “ถือศีลกินผัก” นั่นเอง

เสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของเทศกาลกินผักภูเก็ต

p01p15.jpg

เสน่ห์ของเทศกาลกินผักภูเก็ต คือ นอกเหนือจากการถือศีลกินผักแล้ว ที่นี่จะมีการทำพิธีที่ไม่เหมือนที่อื่น ๆ ด้วย

พิธีแรกที่อยากให้รู้จักกันคือ “ยกเสาโกเต้ง” หรือ “ยกเสาเทวดา” โดยจะเริ่มในเย็นวันแรกก่อนเริ่มเทศกาล ด้วยการจุดตะเกียงไฟไว้บนยอดเสา รวมทั้งสิ้น 9 ดวง และต้องจุดไว้ตลอดทั้ง 9 วัน จนกว่าพิธีจะเสร็จสิ้น

c711de_013a7bd48d2c414abcf1f5132e331b18~mv2.webp

พิธีที่สอง คือ “พิธีอิ้วเก้ง” หรือ “แห่พระรอบเมือง” เป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละศาลเจ้าที่ปฎิบัติสืบทอดกันมาช้านาน เสมือนเป็นการออกเยี่ยมขององค์กิ้วอ๋องไต่ไต่ ผู้เป็นประธานของเทศกาลนี้ เพื่ออวยพรให้กับประชาชนทั่วไป

โดยจะมีขบวนม้าทรงซึ่งจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ให้กับผู้ถือศีลกินผัก ตามความเชื่อว่า กิ้วอ๋องไต่เต่ จะเป็นผู้รับเคราะห์แทน เมื่อเชิญเทพประทับร่างแล้ว ม้าทรงจะเริ่มใช้อาวุธหรือวัตถุมีคมนานาชนิด ทิ่มแทงทะลุกระพุ้งแก้มของตนเอง ตามความเชื่อว่าเป็นการทรมานร่างกายแทนพี่น้องชาวภูเก็ตนั่นเอง

300d0bbf-7e9f-48ef-b953-f85428dd9db3.jpeg

พิธีที่สาม คือ “พิธีโก้ยโห้ย” หรือ “พิธีลุยไฟ” เป็นพิธีกรรมเพื่อชำระพลังไม่ดีออกจากร่างกาย ซึ่งผู้ร่วมพิธีกรรมต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด

ก่อนที่คืนสุดท้ายของเทศกาล จะมี “พิธีโก้ยห่าน” เป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ที่จะทำหลังจากพิธีลุยไฟ โดยการตัดกระดาษเป็นรูปหุ่นหญิงชาย พร้อมกับเขียนชื่อตนเอง และวัน เดือน ปีเกิดไว้ จากนั้นต้องเดินข้ามสะพานให้บรรดาม้าทรงปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และประทับตราสัญลักษณ์หลังเสื้อสีขาวเป็นอันเสร็จพิธี

นอกจากนี้ในวันสุดท้าย คืนเดียวกันนั้น ก็จะมี “พิธีส่งองค์กิ้วอ๋องไต่เต่” เป็นพิธีส่งพระ ที่จะมีขบวนแห่พระไปรอบเมืองของศาลเจ้าหลาย ๆ แห่งในเมืองถูเก็ต เพื่อส่งองค์กิ้วอ่องไต่เต่ ผู้เป็นประธานในพิธีกลับสวรรค์ ซึ่งมักแห่ขบวนเดินทางกันมาส่งที่หน้าเสาโกเต้ง ในช่วงเวลาประมาณ 22.30 น. เป็นการปิดท้ายเทศกาลด้วย ซึ่งระหว่างนั้นผู้ร่วมงานจะจุดประทัด และพลุไฟเข้าใส่ขบวนม้าทรง และพี่เลี้ยงที่หามเกี้ยวรูปพระซึ่งเรียกกันว่า "ตั่วเหลี้ยน อันเป็นที่ประทับขององค์กิ้วอ่องไต่เต่" ส่วนผู้คนที่ถือศีลจะตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้าน และจุดประทัดต้อนรับตลอดสองข้างทาง

bottom of page